สินเชื่อ จำนอง ซื้อ ขายฝาก ที่ดิน
สินเชื่อจำนองที่ดินและจำนองบ้าน คือ ประเภทของการทำนิติกรรมสินเชื่อที่ดินประเภทหนึ่ง มีผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาจำนอง คือ ผู้จำนองและผู้รับจำนอง โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง ผู้จำนองยังคงใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยในบ้านต่อไปได้ เมื่อผู้จำนองได้ชำระปิดยอดบัญชีตามสัญญาจำนองเรียบร้อย ก็ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนปิดการจำนองและโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของผู้จำนองต่อไป ในส่วนของผู้รับจำนอง ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะเป็นผู้ที่ให้เงินสินเชื่อแก่ผู้จำนอง โดยได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นจากการจำนอง นอกจากนี้หากมีการผิดสัญญา เช่น ผู้จำนองไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินขั้นตอนตามกฎหมาย จึงจะสามารถนำอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้ไปขายทอดตลาดได้
การทำสัญญาจำนองที่ดิน คืออะไร
สัญญาจำนองที่ดิน คือ สัญญาการกู้ยืมเงินในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนำเอาอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม โรงงาน โกดัง โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เป็นต้น เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพ ไม่เคยเสื่อมค่าตามกาลเวลาและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นหลักประกันที่มั่นคงนั่นเอง จึงใช้ในการทำสัญญาจำนองได้ง่าย ซึ่งการจำนองที่ดินกับธนาคารนั้น พูดง่าย ๆ ก็คือ การใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน เพื่อขอกู้เงินกับธนาคาร โดยจะต้องดำเนินการจดจำนองที่ดิน (จดทะเบียน) ที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น และผู้จำนองจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าจำนอง (ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน) 1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ได้แก่ ค่าคำขอ และค่าอากรแสตมป์
ในการทำสัญญาจำนองนั้น ผู้ที่จะสามารถนำทรัพย์สินมาทำสัญญาจำนองได้ จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนองเท่านั้น และหากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็จะต้องได้รับมอบอำนาจมาจากเจ้าของทรัพย์สินโดยตรง หากไม่ใช่ทั้งสองอย่างนี้ ก็จะไม่สามารถทำสัญญาจำนองได้ รวมทั้งการทำสัญญาจำนอง จะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ดังนั้นขอให้มั่นใจได้เลยว่าการปลอมแปลงเอกสารเพื่อทำสัญญาการจำนองนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาจำนองที่ดิน
“จำนอง” หมายความว่า การนำทรัพย์สินไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน
“ผู้จำนอง” หมายความว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดิน บ้าน หรือ หลักทรัพย์อื่น แล้วนำหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนจำนอง เพื่อใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
“ผู้รับจำนอง” หมายความว่า ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ ที่ให้กู้ยืมเงิน โดยทำการยึดเอกสารสิทธิ์หลักประกันไว้ และจะคืนให้ เมื่อได้รับการชำระเงินจนครบเรียบร้อยแล้ว
สินเชื่อจำนองที่ดินหรือ เรียกง่ายๆว่าสินเชื่อบ้านแลกเงิน เป็นสินเชื่อที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีบ้านหรือที่ดินที่ปลอดภาระ(มีโฉนดที่ดินแล้ว) โดยมีจุดเด่นที่สำคัญ ดังนี้
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อจำนองที่ดินและบ้าน
เอกสารในการขอสินเชื่อจำนองที่ดิน จำนองบ้าน สำหรับบุคคลธรรมดา
เอกสารในการขอสินเชื่อจำนองที่ดิน จำนองบ้าน สำหรับนิติบุคคล
การเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Sales Sheet)
ชื่อผลิตภัณฑ์: สินเชื่อจำนองที่ดิน
(กรุณาอ่านการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ และควรศึกษารายละเอียด รวมทั้งเงื่อนไขโดยละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจใช้บริการ)
รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิธีการคำนวณดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ผู้ขายผลิตภัณฑ์ บริษัท มานี มีเงิน จำกัด
อนุมัติใช้ผลิตภัณฑ์ 1 มีนาคม 2565
รายการ | เงื่อนไข |
---|---|
วงเงินสินเชื่อ | ให้วงเงินตั้งแต่ 100,000 – 5,000,000 บาท |
ระยะเวลา | ตั้งแต่ 1-30 ปี |
ประเภทการชำระ | ผ่อนชําระรายเดือน (ทุกเดือนๆ ละเท่าๆ กัน) |
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบริการสูงสุด | ไม่เกิน 15 % ต่อปี |
ค่าติดตามทวงถามหนี้ | |
|
50 บาทต่อรอบการทวงถามหนี้ |
|
100 บาทต่อรอบการทวงถามหนี้ |
ปิดบัญชีก่อนกำหนด | ลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบริการทั้งหมด |
ค่าธรรมเนียมจัดการสัญญา | ไม่มี |
ค่าใช้จ่ายอากรแสตมป์ | ผู้กู้เป็นผู้ชําระตามอัตราที่ทางราชการกำหนด |
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต | ไม่มี |
ค่าธรรมเนียมในการชำระผ่านพนักงานบริษัทฯ | ไม่มี |
ค่าทนายกรณีฟ้องร้องดำเนินคดี | จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง |
หากท่านสนใจขอสินเชื่อจำนองที่ดิน จำนองบ้าน กับ มามีมันนี่ ท่านสามารถติดต่อได้ ช่องทางต่อไปนี้
ท่านสามารถเลือกช่องทางการชำระค่างวด สินเชื่อจำนองที่ดิน จำนองบ้าน ได้ดังนี้
ช่องทางการชำระค่างวด | ค่าธรรมเนียม |
---|---|
ทุกสาขา ของบริษัท มานี มีเงิน จำกัด | ฟรีค่าธรรมเนียม |
ผ่านเว็บไซต์ มานีมันนี่ | ฟรีค่าธรรมเนียม |
ผ่าน Mobile Application มานีมันนี่ | ฟรีค่าธรรมเนียม |
โลตัส (Lotus’s) | 10 บาท |
บิ๊กซี (Big C) | 10 บาท |
เคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service)
|
15 บาท 20 บาท |
Mobile Banking (แอปของธนาคาร) ธนาคารกสิกรไทย/ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงเทพ/ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย/ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา |
ฟรีค่าธรรมเนียม |